วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้าว          
                 
       เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้า ในประเทศไทย ข้าวหอมมะลิมีสายพันธุ์ในประเทศและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
                  อาณาจักร                  Plantae
                  ส่วน                           Magnoliophyta
                  ชั้น                             Liliopsida
                  อันดับ                         Poales
                  วงศ์                            Poaceae
                  สกุล                           Oryza
พันธุ์ของข้าว
                ข้าวที่นิยมบริโภคมีอยู่ 2 สปีชีส์ใหญ่ๆ คือ  Oryza glaberrima ปลูกเฉพาะในเขตร้อนของแอฟริกาเท่านั้น
                Oryza sativa ปลูกทั่วไปทุกประเทศ ข้าวชนิด Oryza sativa ยัง แยกออกได้เป็น
                indica มีปลูกมากในเขตร้อน
                japonica มีปลูกมากในเขตอบอุ่น
                Javanica       
ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพวก Indica ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้ ข้าวยังได้ถูกมนุษย์คัดสรรและปรับปรุงพันธุ์มาโดยตลอดตั้งแต่มีประวัติศาสตร์การเพาะปลูก ข้าวในปัจจุบัน จึงมีหลายหลายพันธุ์ทั่วโลกที่ให้รสชาติและประโยชน์ใช้สอยต่างกันไป พันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของไทย คือ ข้าวหอมมะลิ

ความสำคัญ
                 ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจทีสำคัญทั้งการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปในตลาดโลก จากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร          ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศไทยผลิตข้าวได้รวม 24.2 ล้านตันข้าวเปลือก ใช้เพื่อการบริโภค ทำพันธุ์ และอื่น ๆ ในประเทศรวม 13.6 ล้านตัน ข้าวเปลือก    ส่งออกไปขายในตลาดโลก 9.2 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 6.1 ล้านตันข้าวสาร มีมูลค่า 67,914 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้รวม 27 ล้านตันข้าวเปลือก ใช้เพื่อการบริโภค ทำพันธุ์และอื่น ๆ ในประเทศ รวม 15 ล้านตันข้าวเปลือก ส่งออกไปขายในตลาดโลกประมาณ 12 ล้านตัน ข้าวเปลือก หรือ 7 ล้านตันข้าวสาร มีส่วนแบ่งในตลาดโลกมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30
ปัญหา
                 การผลิตข้าวมีแนวโน้มมากกว่าความต้องการของตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องจากผลของการควบคุมจำนวนประชากรในประเทศต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวมีความก้าวหน้ามากขึ้นทำให้ประเทศ ผู้ซื้อข้าวสามารถผลิตข้าวใช้ในประเทศได้มากขึ้น ปริมาณการนำเข้าจึงลดลง ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อการส่งออก ดังนั้น ราคาข้าวจะถูกกำหนดจากปริมาณความต้องการและปริมาณข้าวในตลาดโลก ถ้าปริมาณข้าวมีมากกว่าความต้องการ ราคาข้าวในตลาด โลกจะลดลง และราคาข้าวในประเทศไทยก็จะลดลงด้วย ต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรไทย ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปี ข้อมูลการผลิตในช่วงปี 2538 - 2543 ข้าวนาปีมีต้นทุนการผลิตต่อต้นเฉลี่ย 4,160 บาท ในปี 2538/39 และเพิ่มขึ้นประมาณ 4,800 บาท ในปี 2542/43 ในขณะที่ข้าวนาปรังมีต้นทุนการผลิตต่อต้นเฉลี่ย 2,700 บาท       ในปี 2538/39 และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3,200 บาท ในปี 2541/42 ถึงแม้ราคาข้าวนาปีที่เกษตรกรได้รับจะสูงกว่าข้าวนาปรัง แต่ผลตอบแทนสุทธิต่อตัน ก็ยังน้อยกว่าข้าวนาปรังโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เท่าตัว โดยในปี 2541/42 ข้าวนาปีมีผลตอบแทนสุทธิต่อตัน 914 บาทและข้าวนาปรัง มีผลตอบแทนสุทธิต่อตัน 1,825 บาท ที้งนี้เนื่องจากผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปีอยู่ในระดับต่ำ และการเพิ่มผลผลิตทำได้ยากเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่การปลูกซึ่ง     ไม่สามารถควบคุมน้ำได้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
ข้อจำกัด
                   -  พันธุ์ข้าวที่แนะนำให้เกษตรกรปลูก ยังไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่การปลูกได้อย่างเหมาะสม
                   -  เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม (Good Agriculture Practice : GAP) ยังไม่มีรายละเอียดที่จะใช้แนะนำเฉพาะพื้นที่ หรือเฉพาะพันธุ์
                   -  การวิจัยและพัฒนาด้านการแปรรูปส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปแบบง่าย ๆ มีมูลค่าเพิ่มน้อยและยังไม่สามารถนำไปสู่การเป็นผู้นำในการ แปรรูปสู่อุตสาหกรรมการส่งออก
                   -  การประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรมีค่อนข้างน้อย
                   -  การค้าข้าวภายใต้องค์การค้าโลก (WTO) ถูกกีดกันมากขึ้น โดยอ้างถึงการรักษาสภาพแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัยทางชีวภาพ
โอกาส
                  ถึงแม้ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศจะอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะข้าวนาปี ซึ่งประมาณมากกว่าร้อยละ 50อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผลิต ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 6 เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายพื้นที่มีศักยภาพที่สามารถปลูก ข้าวดอกมะลิ 105 ได้ผลผลิตสูงถึง 500 - 600 กิโลกรัม/ไร่
                  - พื้นที่ในเขตชลประทานซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตมีการขยายตัวมากขึ้นโดยจากข้อมูลของกรมชลประทาน พื้นที่ชลประทานของประเทศเพิ่มจาก 28,685,480 ไร่ในปี 2537 เป็น 29,931,635 ไร่ ในปี 2541
                  - กรมวิชาการเกษตร มีทรัพยากรข้าวที่หลากหลายซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศได้ ทั้งในด้านการบริโภคโดยตรงและแปรรูป
                  - กรมวิชาการเกษตร มีเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม (GAP) เพื่อปรับใช้ สำหรับการผลิตข้าวในนิเวศน์ต่าง ๆเพื่อให้ได้ผลผลิตข้าว ที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
                  - จากข้อตกลงทางการค้าภายใต้ WTO ไทยมีโอกาสที่ส่งส่งออกข้าวเข้าไปตลาดโลกได้มากขึ้น
                  - ผลิตภัณฑ์จากข้าวยังมีโอกาสอีกมากในตลาดโลก เนื่องจากความต้องการใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำเร็จรูป และ เครื่องสำอางมีเพิ่มมากขึ้น
แหล่งปลูก
                 สภาพพื้นที่
                 - พื้นที่นาชลประทานทุกภาคของประเทศ
                 - เป็นที่ราบลุ่ม สามารถควบคุมระดับน้ำได้
                 - ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร
                 - ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ
                 - การคมนาคมสะดวก
                 ลักษณะดิน
                 - ดินเหนียวถึงดินร่วนเหนียว
                 - มีความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลางและสามารถอุ้มน้ำได้ดี
                 - ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร
                 - มีค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.0-6.5
                 สภาพภูมิอากาศ
                 - อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตประมาณ 22-23 องศาเซลเซียส
                 - มีแสงแดดจัด
                 แหล่งน้ำ
                 - มีคลองชลประทาน หรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่มีน้ำเพียงพอสำหรับใช้ตลอดฤดูปลูก
                 - เป็นน้ำสะอาด ปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน
                การเลือกพันธุ์
                - มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ
                - ให้ผลผลิตสูง
                - ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญในท้องถิ่น
                - เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
                ฤดูปลูก
                - ปลูกได้ตลอดปี แต่ควรหลีกเลี่ยงช่วงการปลูกที่ต้นข้าวจะออกดอกในช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 33 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการปลูกที่ต้องเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฝนชุก
                - เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องวางแผนการปลูกที่เหมาะสม
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
              - ใช้เมล็ดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น สถานีทดลองข้าว ศูนย์วิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร และศูนย์ขยายพันธุ์พืช กรม ส่งเสริมการเกษตร หากใช้เมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ตรงตามพันธุ์ สะอาด และมีความงอกไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
             - ปลูกโดยวิธีปักดำ ใช้เมล็ดพันธุ์ 5-7 กิโลกรัม ตกกล้าเพื่อปักดำในพื้นที่ 1 ไร่
             - ปลูกวิธีหว่านน้ำตม ใช้เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัมต่อไร่
             - นำเมล็ดใส่ถุงผ้าดิบหรือกระสอบป่าน แช่น้ำ 24 ชั่วโมง แล้วนำไปหุ้ม 36-48 ชั่วโมง โดยวางกลางแดด คลุมด้วยกระสอบป่าน หมั่นรดน้ำให้กระสอบเปียก
การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
             การเตรียมดินและวิธีปลูก
             ถ้าต้องการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
             - หว่านปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนเตรียมดิน
             - หว่านเมล็ดพืชปุ๋ยสด เช่น โสนแอฟริกัน อัตราเมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูกข้าวประมาณ 2 เดือน ไถกลบเมื่อพืชปุ๋ยสด มีอายุประมาณ 50 วัน
             การปลูกโดยวิธีปักดำ มี 2 ขั้นตอน
             การตกกล้า
             - เตรียมแปลงตกกล้า โดยไถดะ ทิ้งไว้ 7-10 วัน ไถแปร เอาน้ำเข้า แช่ขี้ไถ คราดปรับระดับผิวดินแล้วทำเทือก
             - แบ่งแปลงย่อย กว้างประมาณ 1-2 เมตร ยาวตามความยาวของแปลง ทำร่องน้ำระหว่างแปลงกว้างประมาณ 30 เซนติเมตรแล้ว ระบายน้ำออก
             - หว่านเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้ (ตามข้อ 3.2) บนแปลงให้สม่ำเสมอ ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 50-70 กรัมต่อตารางเมตร
             - อย่าให้น้ำท่วมแปลงกล้า แต่ให้มีความชื้นเพียงพอสำหรับการงอก เพิ่มระดับน้ำตามการเจริญเติบโตของต้นข้าวอย่าให้ท่วมต้นข้าว และไม่เกิน 5 เซนติเมตร จากระดับหลังแปลง
             การปักดำ
             - เตรียมแปลงปักดำโดยไถดะ ทิ้งไว้ 7-10 วัน ไถแปร เอาน้ำเข้า แช่ขี้ไถ คราดปรับระดับผิวดินแล้วทำเทือก รักษาระดับน้ำในแปลง ปักดำประมาณ 5 เซนติเมตรจากผิวดิน
             - ปักดำโดยใช้ต้นกล้าอายุประมาณ 25 วัน
             - ระยะปักดำ 20x20 เซนติเมตร จำนวน 3-5 ต้นต่อกอ
             - รักษาระดับน้ำในนาให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าวประมาณ 0-10 เซนติเมตร
             - อย่าปล่อยให้ต้นข้าวขาดน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกำเนิดช่อดอกถึงออกรวง
             - หลังข้าวออกรวง 80 เปอร์เซ็นต์แล้วประมาณ 20 วัน ระบายน้ำออก
             การปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
             - เตรียมแปลงโดยไถดะ ทิ้งไว้ 7-10 วัน ไถแปร เอาน้ำเข้าแช่ขี้ไถให้พอเหมาะกับการคราด คราดปรับระดับผิวดิน แล้วทำเทือก
             - แบ่งแปลง กว้าง 5-10 เมตร ยาวตามความยาวของแปลง ทำร่องน้ำระหว่างแปลงกว้าง 30 เซนติเมตร แล้วระบายน้ำออก
             - หว่านเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้ (ตามข้อ 3.2) บนแปลงให้สม่ำเสมอใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัมต่อไร่
             - หลังหว่านเมล็ด อย่าให้น้ำท่วมแปลง แต่ให้มีความชื้นเพียงพอ สำหรับการงอก ค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำตามการเจริญเติบโตของต้นข้าว อย่าให้ท่วมต้นข้าว และไม่ควรลึกเกิน 10 เซนติเมตร
             - อย่าปล่อยให้ต้นข้าวขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกำเนิดช่อดอกถึงออกรวง
             - หลังข้าวออกรวง 80 เปอร์เซ็นต์แล้วประมาณ 20 วัน ระบายน้ำออก
การให้ปุ๋ย
             นาดำ
             - ครั้งที่ 1 ให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ที่ระยะปักดำหรือก่อนปักดำ 1 วัน แล้วคราดกลบ หรือให้หลังปักดำ 15-20 วัน (หากเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายควรใช้สูตร 16-16-18)
             - ครั้งที่ 2 ให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก
             - ครั้งที่ 3 ให้ปุ๋ยสูตร และอัตราเช่นเดียวกับครั้งที่ 2 ที่ระยะ 10-15 วันหลังระยะกำเนิดช่อดอก
             นาหว่านน้ำตม
             - ครั้งที่ 1 ให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ 20-30 วันหลังข้าวงอก (หากเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายควรใช้สูตร 16-16-8)
             - ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 เช่นเดียวกับนาดำ
การแปรรูป
              สินค้าข้าวนอกจากจะขายเป็นรูปข้าวเปลือกและข้าวสารแล้ว ยังมีการค้นคว้าวิจัยการแปรรูปเพื่อให้เป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าอีกเป็น จำนวนมาก และผลิตภัณฑ์แปรรูปนั้นมาจากการค้นคว้าวิจัยให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งมาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือจากที่มีอยู่ในตลาดท้องถิ่น นานมาแล้วมาใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ให้ตลาดสินค้ากว้างขึ้น สามารถส่งออกต่างประเทศได้
                   1. การใช้แป้งข้าวทดแทนแป้งสาลีในการทำผลิตภัณฑ์เค้กและคุกกี้ (โดย งามชื่น คงเสรี)
                     การใช้แป้งข้าวทดแทนแป้งสาลีในการทำผลิตภัณฑ์เค้กและคุกกี้โดยใช้แป้งจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กข 23 และเหลือง  ประทิว 123 ผสมแป้งข้าว 20% เป็นแป้งชนิดโม่น้ำหรือโม่แห้ง คุณภาพของเค้ก เป็นที่ยอมรับใกล้เคียงกับเค้กแป้งสาลี แป้งข้าวขาว ดอกมะลิ105 ชนิดโม่แห้งสามารถ ทดแทนแป้งสาลีใน สัดส่วนที่สูงกว่าแป้งชนิดอื่น การเพิ่มความละเอียดของแป้งเป็น 200 เมช ช่วยให้คุณภาพของเค้กดีขึ้น และการเติม SP 7 % ช่วยให้ผลิตภัณฑ์เค้กที่ทำจากแป้งข้าวขาวดอกมะลิ105 ชนิดโม่แห้งได้รับการ ยอมรับ ใกล้เคียงกับเค้กแป้งสาลี คุกกี้แป้งข้าวมีเนื้อหยาบกว่าคุกกี้แป้งสาลีเล็กน้อย เมื่อวางทิ้งไว้ในสภาพห้องที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 77 - 84% RH นาน 6 ชั่วโมง คุกกี้แป้งข้าวจะอ่อนตัวเร็วกว่าคุกกี้แป้งสาลี เพื่อปรับปรุงคุณภาพคุกกี้แป้งข้าว ควรโม่แป้งให้ละเอียดอย่างน้อย 140 เมช การเติมแป้งพรีเจลข้าวเพื่อชลอการอ่อนตัวของคุกกี้ให้ช้าลง
                    2. การผลิตข้าวกึ่งสำเร็จรูป (โดย งามชื่น  คงเสรี,สุนันทา  วงศ์ปิยชน,พูลศรี   สว่างจิต,ละม้ายมาศ  ยังสุข,วิชัย   หิรัญญูปกรณ์   สถาบันวิจัยข้าว)
                        การพัฒนาการผลิตข้าวกึ่งสำเร็จรูปเบื้องต้นจากข้าวขาวที่มีปริมาณอมิโลสต่างกันโดยใช้พันธุ์ข้าว กข 21 กข 23  และ เหลืองประทิว 123  ซึ่งมีอมิโลส 17, 23 และ 28% ตามลำดับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกึ่งสำเร็จรูป โดยการแช่ข้าว แล ต้มจนสุก   แช่แข็งแล้วจึงอบลดความชื้นที่  70   องศาเซลเซียส   พบว่าข้าวที่ใช้ควรเป็นข้าวอมิโลสต่ำ และผลิตภัณฑ์ ใช้เวลาคืนรูปโดยแช่ ในน้ำร้อนจัด นาน  7  นาที  สำหรับข้าวกึ่งสำเร็จรูปที่ทำจากข้าวพันธุ์เหลืองประทิว123    มีคุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่ดี ต่อจากนั้น ปรับปรุงวิธีการผลิตจนสามารถใช้ข้าวที่มีอมิโลสต่างๆ ได้ เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105   กข 23 และเหลืองประทิว 123   โดยใช้เทคนิค ลดความชื้นด้วยเครื่อง Fluid  bed  dryer ใช้เวลาคืนรูปโดยแช่น้ำร้อนจัดนาน 5, 4  และ   4  นาที   ตามลำดับ   มีกระบวนการผลิต โดยหุงต้มข้าวให้สุกต้มในน้ำเดือดหรือนึ่งสุกโดยเติมน้ำ 1.2, 2.0 และ 2.0  เท่า โดยน้ำหนักของพันธุ์ข้าว ตามลำดับ ล้างข้าวสุกและ แช่แข็ง ตามด้วยละลายน้ำแข็งและลดความชื้นด้วยเครื่อง  Fluid bed dryer. เทคนิคนี้สามารถใช ้ในการผลิต ข้าวกล้องกึ่งสำเร็จรูป ของพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105  เช่นกัน เมื่อปรุงรสข้าวกึ่งสำเร็จรูป  โดยเติมผลิตภัณฑ์เยือกแข็งแห้ง คือ เนื้อไก่ และถั่วฝักยาว ผักอบแห้ง ได้แก่   แครอท   และต้นหอม สำหรับสารปรุงรสใช้ น้ำตาลป่น เกลือป่น พริกไทย น้ำมันพืชและกระเทียมเจียว ทำการคืนรูปโดยเติมน้ำร้อนจัดในอัตราส่วนที่เหมาะสมจะได้ ข้าวปรุงรสไก่พร้อมรับประทาน จากการสำรวจการยอมรับของ ประชาชนในกรุงเทพฯ ผลิตภัณฑ์ข้าวกึ่งสำเร็จรูปปรุงรส และ ข้าวกล้องกึ่งสำเร็จรูปได้รับการยอมรับในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ดี ภาชนะบรรจุที่เหมาะสมควรเป็นอลูมินัมฟอยล์ ชนิดประกบ หลายชั้นด้วย OPP/PE/ ALU/PE โดยมีอายุการเก็บ 4 เดือนที่ 35 องศาเซลเซียส และ 6 เดือนที่ 25 องศาเซลเซียส และไม่ควรเก็บในที่ร้อนจัด 45 องศาเซลเซียส

                     3.  การใช้แป้งข้าวทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์พาสต้า (โดย ละม้ายมาศ ยังสุข,  งามชื่น คงเสรี,  สุนันทา วงศ์ปิยชน,  จารุวรรณ บางแวก,  อนุวัฒน์ รัตนชัย,  พูลศรี สว่างจิต)
                     ผลิตภัณฑ์พาสต้าเป็นอาหารเส้นที่ทำจากข้าวสาลีชนิดดูรัมมีรูปร่างแตกต่างกันไป ถ้าเป็นเส้นกลมยาวและตันเรียกว่าสปาเกตตี้ ถ้ามีรูปร่างกลวงสั้น รูปหอย  โบว์  ตัวอักษร  ABC  เกลียว   เส้นแบนสั้น  ฯลฯ  มักเรียกว่ามักกะโรนี   ในปี  2544  มูลค่าการนำเข้า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้  1.3  ล้านบาท   และนำเข้าข้าวสาลีดูรัม  169.95  ล้านบาท    ดังนั้นเพื่อหาแนวทางการลดการใช้ข้าวสาลีชนิดนี้   จึงได้ศึกษาและพัฒนาวิธีการผลิตพาสต้าจาก การใช้แป้งข้าวทดแทนแป้งสาลี    โดยนำแป้งข้าวชนิดโม่น้ำและโม่แห้งของข้าวพันธ์ุขาวดอก มะลิ 105   สุพรรณบุรี60  และชัยนาท1   ผสมแป้งสาลีในอัตรา  0  20  40  60  80  และ  100%   แล้วผสมน้ำ  38-40% เกลือแกง  2%   จนเกิด  dry  dough  นำไปขึ้นรูปเป็นสปาเกตตี   ด้วยเครื่องทำพาสต้ายี่ห้อ  ITALGI  นอกจากนี้ได้ทดลองใช้้แป้งผสมดังกล่าว   ปรับความชื้นเป็น  33-35%   เติมเกลือแกง2%  ทำเป็นเส้นด้วยเครื่อง  Extruder  ที่ปรับอุณหภูมิช่วง  mixing, cooking  และ  cutting  เป็น  500  ซ.    1000 ซ.  และ  900  ซ.  ใช้หัวดาย (die)  เส้นผ่าศูนย์กลาง  3  มม.   และขนาด  feeding  screw  1:1   ทดสอบคุณภาพเส้นโดยวิธีประสาทสัมผัส   และวัดความเหนียว   ความยืดหยุ่น   ด้วยเครื่อง  Texture  analyzer  รุ่น   TA-XT2   ผลการทดลองทำเส้นสปาเกตตีด้้วยเครื่องทำพาสต้ายี่ห้อ  ITALGI  พบว่าสามารถ ใช้แป้งข้าวชนิดโม่น้ำและโม่แห้งของ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สุพรรณบุรี 60    และชัยนาท 1   ทดแทนแป้งสาลีได้อัตรา  20%  20%   และ  40%   ตามลำดับ  ได้เส้นมีลักษณะปรากฏ สีขาวทึบแสง    ผิวเรียบส่วนเส้นจากเครื่อง Extruder ลักษณะ สีเหลืองใส ถ้าผสมแป้งข้าวมากขึ้น  เส้นจะมีสี ขาวใส การใช้เครื่อง Extruder  สามารถใช้แป้งข้าวขาวดอกมะลิ 105    ทดแทนแป้งสาลีได้  20%   และใช้แป้งข้าวสุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ทดแทนแป้งสาลีได้ 100% ทั้งแป้งชนิดโม่น้ำและโม่แห้ง
                        การพัฒนามักกะโรนีให้มีสัดส่วนแป้งข้าวเพิ่มขึ้น    โดยเติมแป้งข้าวเจ้าพรีเจล  40%   แล้วผสมโดยวิธี  dry  douder  ทำเส้นสปาเกตตี ด้วยเครื่องทำพาสต้ายี่ห้อ ITALGI ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากได้เส้นไม่เรียบ ขาดและเปราะเมื่อตากแห้ง สำหรับมักกะโรนีีี สามารถขึ้นรูปได้   แต่เนื้อสัมผัสเละ การเพิ่มแป้งดัดแปร  5-10% ทำให้เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่มขึ้น          
                         นอกจากนี้ได้พัฒนาวิธีการทำมักกะโรนี   จากแป้งข้าวชนิดโม่น้ำพันธุ์ชัยนาท 1  จำนวน  2  วิธี   โดยวิธีแรกเติมน้ำ   76%   ปั้น เป็นก้อน  นำไปต้มในน้ำเดือด 15 นาที นวดด้วยเครื่องนวดแบบเกลียวขึ้นรูปด้วยเครื่องทำมักกะโรนีแบบมือหมุน   สำหรับวิธีที่  2 ผสม ข้าวสุกประเภทอมิโลสสูง  50%  ในแป้งข้าวเจ้า   นำไปนวดด้วยเครื่องแบบเกลียว    และทำเช่นเดียวกับวิธีแรก  ทั้งสองวิธีจะได้ มักกะโรนีสด   ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ   การทำมักกะโรนีแห้ง   โดยการผึ่งลงจนแห้ง   เมื่อนำมาต้มให้สุก พบว่าชิ้นมักกะโรนีแตก ไม่เป็นที่ยอมรับจึงต้องพัฒนากระบวนการผลิตต่อไป
                     4.  การหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากแป้งเมล็ดข้าวงอก  สำหรับทำข้าวยาคู (โดย รุจิรา ปรีชา, สุเทพ ฤทธิ์แสวง, สุวรา  โภชนสมบูรณ์, สุนันทา วงศ์ปิยชน, จำลอง ฤทธิชัย   ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง)
                          การหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากแป้งเมล็ดข้าวงอกสำหรับทำยาคู   โดยใช้แป้งจากเมล็ดข้าวงอกพันธุ์   กข 7, เล็บนก ปัตตานี   และเฉี้ยงพัทลุง    ที่มีปริมาณอมิโลส 17-20, 20-21   และ 22-24% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับแป้งข้าวในระยะน้ำนม   (อมิโลส  16-19%)   ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของแป้งข้าวเมล็ดงอกที่อายุ   0-7  วัน   จะมีโปรตีนตั้งแต่    3.94-8.00%   ไขมัน   1.75-4.91%  วิตามินบี1  0.05-49 มิลลิกรัม  วิตามินบี2  0.04-0.14  มิลลิกรัม   ส่วนแป้งข้าวในระยะน้ำนม   จะมีโปรตีนตั้งแต่   3.70-6.37%   ปริมาณไขมัน  1.13-1.55%   วิตามินบี1  0.13-0.19  มิลลิกรัม   วิตามินบี2  0.12-0.13  มิลลิกรัม   ผสมแป้งงอกสด  แห้ง : น้ำ  ในอัตราส่วน  1:40   โดยน้ำหนัก   และผสม   น้ำตาล, กะทิ, เกลือเล็กน้อย ในอัตราส่วนที่เหมาะสม  (แป้ง : น้ำตาล  = 1:2  โดยน้ำหนัก)   แต่งกลิ่นด้วยน้ำใบเตย   นำไปต้มให้เดือดและนึ่งฆ่าเชื้อนาน  15  นาที   พบว่าผลิตภัณฑ์     ข้าวยาคูจากแป้งเมล็ด ข้าวงอกที่อายุ  0-1  วัน   และแป้งข้าวระยะน้ำนมผลิตภัณฑ์มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกชั้น  ปรับปรุงสูตรโดยการเติมน้ำนม ถั่วเหลือง  10%   โดยปริมาตร  พบว่า  ผลิตภัณฑ์ข้าวยาคูที่ทำจากแป้งเมล็ดข้าวงอกที่อายุ  0-1   วัน   ทุกพันธ์มีลักษณะผลิตภัณฑ์ คล้ายคลึงกับแป้งข้าวในระยะน้ำนม   ผลจากการชิมโดยใช้ประสาทสัมผัส   พบว่าผู้ชิมมีความชอบและยอมรับผลิตภัณฑ์   และผล การตรวจสอบเชื้อ  E.coli  และ  Total  Bacteria   ในผลิตภัณฑ์ข้าวยาคู   พบว่ามีปริมาณน้อยกว่า  50x104  โคโลนี/มิลลิลิตร   ซึ่งไม่เกินเกณฑ์มาตราฐานที่กำหนด
                      5.   สินค้าข้าวที่สำรวจพบในประเทศไทย    (โดยทรงกลด บางยี่ขัน การสำรวจฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ผลิตในประเทศไทย เอกสารเผยแพร่ลำดับที่ 2 พ.ศ. 2545 มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมถ์)
                            แบ่งเป็น  6  กลุ่ม   161  รายการ 
                            กลุ่มที่  1    อาหารที่ทำจากข้าว   ได้แก่
                                            1.1 ข้าวสำเร็จรูปพร้อมรับประทานบรรจุกระป๋อง
                                            1.2 ข้าวสำเร็จรูปพร้อมรับประทานบรรจุกระป๋องพร้อมปรุงรส
                                            1.3 โจ๊กบรรจุกระป๋อง
                                            1.4 ธัญพืชข้าวกล้องสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน
                                            1.5 ข้าวเหนียวกระป๋อง
                           กลุ่มที่  2     อาหารที่ทำจากแป้งข้าว ได้แก่ เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ก๋วยจั๋บ เส้นขนมจีน ใบเมี่ยง  เส้นพาสต้า   สปาเกตตี   ผงแป้ง สำหรับผลิตยา   อาหารสำเร็จรูป   กึ่งสำเร็จรูป จากผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากแป้งข้าวอื่น ๆ
                           กลุ่มที่  3     น้ำมันพืชจากข้าว  ได้แก่  น้ำมันรำข้าวต่าง ๆ 
                           กลุ่มที่  4     ขนมที่ทำจากข้าว  ได้แก่  ข้าวหอมมะลิกรอบปรุงรส แครกเกอร์ คุ้กกี้ ซาลาเปา  ครัวซองท์  ไอศกรีม  ขนมทอด ข้าวตัง ข้าวพอง ขนมปัง  ฯลฯ
                           กลุ่มที่  5     เครื่องดื่มที่ทำจากข้าว  ได้แก่  น้ำมันข้าว น้ำนมข้าวยาคู น้ำนมข้าวชนิดผง ชาใบข้าว ธัญญาหารสำหรับชงดื่มไวน์ข้าว
                           กลุ่มที่  6      อื่น     ได้แก่  อาหารเสริม  แชมพู   สบู่   น้ำมันนวด ครีมบำรุงผิว  ถ่านแกลบ   ปุ๋ยถ่าน